วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 21, 2549

Jules and Jim: ชีวิตที่ปราศจากรูปแบบ



ตลอดอาชีพนักทำหนังที่ครอบคลุมช่วงเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษ ฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์ มักถูกมองว่าเป็นผู้กำกับตลาดและมีหัวคิดค่อนข้าง ‘อนุรักษ์นิยม’ สูงสุดในบรรดากลุ่มผู้กำกับคลื่นลูกใหม่ของฝรั่งเศส เหตุผลมากมายถูกหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว บ้างก็ว่าเพราะเขานิยมนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้หญิงในลักษณะวัตถุทางเพศที่น่าหลงใหล บ้างก็ว่าเพราะเขาไม่สนใจจะวิพากษ์สังคมและการเมืองอย่างดุดัน บ้างก็ว่าเพราะหนังของเขาปราศจากสไตล์แปลกใหม่ ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานในยุคท้ายๆ บ้างก็ว่าเพราะเขาเน้นย้ำแต่ประเด็นสัมพันธภาพระหว่างชายหญิง ที่ปราศจากนัยยะคลุมเครือ หรือความโจ่งแจ้งทางกามารมณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อหนังของทรุฟโฟต์ถูกนำไปเปรียบเทียบกับหนังของผู้กำกับคลื่นลูกใหม่คนอื่นๆ อย่าง อแลง เรสเน่ส์ หรือ ฌอง-ลุค โกดาร์ด คำว่า ‘หัวโบราณ’ หรือ ‘เดินตามขนบดั้งเดิม’ จึงมักจะถูกเอ่ยถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่า

อย่างไรก็ตาม ภายใต้เปลือกนอกอันเรียบง่ายของเรื่องราวรักสามเส้าระหว่างชายสองหญิงหนึ่ง Jules and Jim ภาพยนตร์มาสเตอร์พีซชิ้นเยี่ยมของทรุฟโฟต์ กลับซุกซ่อนแนวคิดแหกกฎเกี่ยวกับประเด็นความรักและการแต่งงานเอาไว้ภายใน ด้วยการสะท้อนรูปแบบ ‘สามเส้า’ ว่าเป็นอุดมคติแห่งรัก ซึ่งขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับมาตรฐาน ‘คู่รัก’ แบบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ยอมรับ และคุ้นเคยจากการตอกย้ำของหนังฮอลลีวู้ดจำนวนมาก ขณะเดียวกัน องค์ประกอบสำคัญที่แบ่งแยก Jules and Jim ออกจากหนังฝรั่งเศสเรื่องอื่นๆ ในยุคนั้น ได้แก่ การสร้าง แคทเธอรีน (ฌานน์ มอนโร) ตัวเอกฝ่ายหญิง ให้เป็นวิญญาณอิสระ ผู้พยายามปลดปล่อยตัวเองจากโครงสร้างชีวิตตามประเพณีนิยม

แคทเธอรีนเป็นตัวละครที่สร้างความอึดอัด สับสน ให้แก่นักวิจารณ์และคนดูทั่วไป เนื่องด้วยแง่มุมลึกลับและคลุมเครือทางศีลธรรมในบุคลิกของเธอ บางคนขนานนามเธอเป็นแม่มด บางคนมองว่าเธอเป็นผู้หญิงอันตราย (femme fatale) และบางคนถึงขั้นตีตราเธอเป็นคนโรคจิต ผู้หญิงสำส่อน หรือไม่ก็ผู้หญิงกินผัว คำวิเคราะห์เหล่านี้ไม่เที่ยงตรงและยุติธรรมต่อตัวละครสักเท่าไหร่ เนื่องจากมันเป็นมุมมองซึ่งเน้นย้ำไปยัง ‘การกระทำ’ ของเธอ มากกว่าความหมายแฝงที่เธอ ‘นำเสนอ’ นั่นคือ ชีวิตเหนือกรอบศีลธรรม บรรทัดฐาน และความคาดหวัง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง แคทเธอรีนเปรียบดังรูปแบบแห่งพลังอันน่าตื่นเต้น เหนือจริง ที่ช่วยฉีดกระตุ้นชีวิตด้วยอารมณ์เข้มข้น รุนแรง

ผู้คนโดยทั่วไปมักหลงใหลในงานศิลปะ เนื่องจากพวกมันส่วนใหญ่สะท้อนคุณภาพ/อารมณ์เข้มข้น เหนือจริง ในโลกของ Jules and Jim ศิลปะ คือ ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลสำคัญ หนังอ้างอิงบ่อยครั้งถึงศิลปิน อาทิ เชคสเปียร์, ปิคัสโซ่, โมซาร์ท, โบเดแลร์ และเกอเธ่ ทั้ง จูลส์ (ออสการ์ แวร์เนอร์) และ จิม (เฮนรี่ แซรร์) ต่างก็เป็นนักเขียน ซึ่งชื่นชม ชื่นชอบผลงานศิลปะในแทบทุกแขนง ตั้งแต่ปฏิมากรรม ละครเวที บทกวี ภาพวาด ไปจนถึงวรรณกรรม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ทั้งสองจะประทับใจในผลงานศิลปะอันเลอเลิศบางชิ้น จนถึงขนาดติดตาตรึงใจไปนาน ดังเช่น รูปปั้นที่พวกเขาพบเห็นบนเกาะในช่วงต้นเรื่อง ชีวิตของจูลส์กับจิมกลับ ‘ปลอดภัย’ อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงมาตลอด จนกระทั่งพวกเขาได้พบ แคทเธอรีน หญิงสาวผู้ลบเลือนเส้นแบ่งระหว่างศิลปะกับความจริงเข้าด้วยกัน

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ จูลส์กับจิมสนใจและหลงใหลแคทเธอรีน ได้แก่ คุณภาพในเชิงศิลปะของเธอ สำหรับพวกเขา (รวมเลยไปถึงคนดู) แคทเธอรีนเปรียบเสมือนงานปฏิมากรรมหรือวรรณกรรมชั้นยอด และรายละเอียดเชื่อมโยงสมมุติฐานดังกล่าวก็สะท้อนชัดในหนังทั้งเรื่อง ตัวอย่างเช่น การปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของแคทเธอรีนถูกประกอบกันขึ้นด้วยชุดภาพโคลสอัพเพื่อเปรียบเทียบเธอกับ ‘รูปปั้น’ ซึ่งชายหนุ่มทั้งสองหลงใหล “มันช่างเหนือความคาดหมายในทุกๆ ทาง พวกเขาเดินชื่นชมมันไปรอบๆ โดยไม่พูดไม่จากันเลย” เสียงคนเล่าเรื่อง (ไมเคิล ซาบอร์) บรรยายถึงความรู้สึกของจูลส์กับจิม เมื่อได้เห็นรูปปั้นเป็นครั้งแรก จูลส์พูดแซวว่า แคทเธอรีนมีอาชีพสอน ‘บทละคร’ เชคสเปียร์ และนั่นเองคือสิ่งที่เธอกระทำกับสองหนุ่ม เธอฉีดกระตุ้นชีวิตของพวกเขาด้วยดราม่าและความเหนือจริง แบบเดียวกับการอ่านบทละครเชคสเปียร์ บุคลิก “เหนือความคาดหมายในทุกๆ ทาง” ของเธอดำเนินต่อเนื่องไปตลอดช่วงครึ่งแรก (ตบหน้าจูลส์/โกงเกมวิ่งแข่ง) ก่อนจะพุ่งขึ้นสูงถึงขีดสุดในฉากที่เธอกระโดดจากสะพานลงไปในแม่น้ำ ภาพแคทเธอรีนดำดิ่งสู่ผืนน้ำเบื้องล่างสร้างแรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ให้สองหนุ่ม จนพวกเขาต้องถ่ายทอดมันออกมาเป็น ‘ภาพวาด’ ในเช้าวันรุ่งขึ้น เธอยืนกรานจะอ่าน ‘หนังสือ’ Elective Affinities ของ เกอเธ่ ในคืนที่เธอกับจิมสร้างสัมพันธ์กันเป็นครั้งแรก นอกจากนั้น หนังยังก้าวไปถึงขั้นพยายามวาดภาพเหมือนของเธอ ด้วยเทคนิคการหยุดภาพนิ่ง (freeze-frame) ในซีเควนซ์ที่ตัวละครทั้งสามเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนยังชายทะเลอีกด้วย คุณสมบัติของแคทเธอรีนในการกระทำทุกสิ่งเหนือความคาดหมาย (และเหตุผล) ถือกำเนิดขึ้นควบคู่กับแง่มุมลึกลับ ดำมืด เช่น เมื่อเธอลงมือเผาจดหมายปริศนาอย่างไม่เขินอายต่อหน้าจิม ก่อนชุดกระโปรงจะลุกติดไฟ หรือเมื่อเธอเทของเหลวบางอย่างลงในอ่างแล้วปรากฏควันขาวพวยพุ่งออกมา และการปลอมแปลงตน (แต่งตัวเป็น ‘โธมัส’)

แคทเธอรีนเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของชีวิตที่ปราศจากรูปแบบ หรือข้อจำกัด นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเธอถึงได้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการลงหลักปักฐาน สร้างครอบครัว ซึ่งเป็นวงจรชีวิตตามขนบธรรมเนียม ในทางตรงกันข้าม จูลส์กลับเป็นตัวละครที่ผูกพันเชื่อมโยงกับ ‘ครอบครัว’ มากกว่าใครๆ พ่อแม่ของเขาได้รับการพูดถึงอย่างเด่นชัดผ่านคำบอกเล่าของแคทเธอรีน บุคลิกติดดิน อ่อนโยน อ่อนไหว และไม่ค่อยทะเยอทะยานของจูลส์ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจได้ตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของความสัมพันธ์ ที่จะขอแคทเธอรีนแต่งงานและสร้างครอบครัว ส่วนจิมกลับไม่ค่อยแน่ในชีวิตสมรส หลังสงครามสิ้นสุด เขาได้เขียนจดหมายหาจูลส์โดยมีเนื้อความท่อนหนึ่งว่า “นายคิดอย่างไร ฉันควรจะแต่งงานด้วยดีไหม ฉันควรจะมีลูกดีไหม” จูลส์เป็นชายหนุ่มที่อ่อนปวกเปียกและดูเป็นเบี้ยล่าง (พร้อมสรรพด้วยภาพลักษณ์แบบหนุ่มยุโรปผมบลอนด์ นัยน์ตาเศร้าสร้อย) เขาอยากจะแต่งนิยายเกี่ยวกับความรักโดยมีตัวละครเป็นแมลงตัวเล็กๆ เขาพูดถึงแคทเธอรีนในฐานะราชินี ส่วนจิมกลับมีภาพลักษณ์แบบวีรบุรุษโรแมนติก เขาหล่อเหลา คมเข้ม น้ำเสียงทุ้มต่ำ และมีนิสัยรักการผจญภัย พวกเขาถูกตั้งฉายาให้เป็น ดอน กีโฮเต้ กับ แซนโช แพนซ่า บทเปรียบเทียบดังกล่าวช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใด จิมจึงประสบความสำเร็จในรักโรแมนติกกับแคทเธอรีน ผู้สลัดทิ้งทุกคำเรียกร้องของชีวิตเรียบง่ายและความคาดหวังแห่งสังคม ส่วนจูลส์กลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แต่ขณะเดียวกัน จิมกับแคทเธอรีนเองก็ล้มเหลวในความพยายามจะสร้างครอบครัว ส่วนจูลส์กลับประสบความสำเร็จ แม้จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นก็ตาม

จูลส์พยายามจะดึงแคทเธอรีนลงมาสู่ชีวิตครอบครัว แต่สำหรับแคทเธอรีน รูปแบบดังกล่าวขัดแย้งกับบุคลิกและจิตวิญญาณของเธอ ครั้งหนึ่งจิมเคยถามจูลส์ถึงคุณสมบัติ ‘ลูกผสม’ ของแคทเธอรีน คำตอบที่เขาได้รับ คือ “พ่อของเธอเป็นชนชั้นสูง แม่ของเธอเป็นชนชั้นแรงงาน พ่อของเธอสืบเชื้อสายมาจากขุนนางเก่า แม่ของเธอเป็นคนอังกฤษ ด้วยเหตุนี้ เธอจึงเพิกเฉยต่อมาตรฐานปานกลาง” ชีวิตแต่งงานของเธอกับจูลส์ยืนยาวอยู่จนกระทั่งพวกเขาเดินทางครบวงจร หลังจากทั้งสองมีลูกสาวชื่อ ซาบีน ด้วยกันแล้ว เธอก็บอกกับจูลส์ว่า “ฉันคลอดลูกสาวให้คุณแล้ว มันเพียงพอแล้วสำหรับฉัน บทบาทช่วงนี้ของเราได้ปิดฉากลงแล้ว เราแยกห้องนอนกันเถอะ… ฉันขออิสรภาพของฉันคืน”

ไม่เพียงการวางบุคลิกแคทเธอรีนให้แตกต่างเท่านั้น ที่สามารถทำให้เรื่องราวพื้นๆ ใน Jules and Jim กลับกลายเป็นความท้าทายแห่งยุคสมัย ทั้งนี้เพราะตัวหนังยังได้สะท้อนภาพการแต่งงานและชีวิตครอบครัวในลักษณะแปลกแยกจากหลักความเชื่อทั่วไปอีกด้วย กล่าวคือ ขณะที่หนังรักของฮอลลีวู้ดส่วนใหญ่นิยมมองข้ามความขัดแย้งระหว่างชีวิตแต่งงานกับความรักโรแมนติก ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วย่อมรุนแรง เข้มข้น และไม่ยืนยาว แล้วนำเสนอแนวคิดว่า ความรักโรแมนติก คือ จุดเริ่มต้นของชีวิตแต่งงานอันยืนยาวชั่วกาลนาน ผ่านภาพสะท้อนของพิธีมงคลสมรส (หรือแนวโน้มว่าจะมีพิธีมงคลสมรส) ในฐานะบทสรุปแห่งแฟนตาซีโรแมนติก โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชีวิต ‘หลังจาก’ นั้น (ความเข้าใจที่ตรงกันของคนดูส่วนใหญ่ คือ “จากนั้นพวกเขาก็ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดไป”) Jules and Jim กลับเลือกจะโต้แย้งการเหมารวมดังกล่าวด้วยบทสำรวจชีวิตโรแมนติกอันละเอียดอ่อนหลังพิธีแต่งงาน พร้อมทั้งสื่อนัยแฝงอันน่าตระหนกว่า แท้จริงแล้วชีวิตสมรสหาใช่จุดสูงสุดแห่งรักโรแมนติก ตรงกันข้าม มันกลับกลายเป็นจุดจบแห่งโรแมนซ์ต่างหาก

หลักฐานเด่นชัดต่อข้อสรุปข้างต้น คือ แทนที่จะแสดงให้เห็นพิธีแต่งงาน ทรุฟโฟต์กลับเลือกซ้อนภาพใบหน้าของจูลส์ ขณะบอกจิมทางโทรศัพท์ว่าเขากำลังจะแต่งงาน เข้ากับฟุตเตจการต่อสู้ในสนามรบ ส่งผลให้พิธีสมรส หรือจุดสุดยอดแห่งรักโรแมนติกไม่ได้รับการเน้นย้ำ ส่วนความจริงแห่งสงครามก็กลับโผล่พรวดเข้ามาแทรกกลาง จากนั้น คนดูก็ได้รับทราบผ่านเสียงเล่าเรื่องว่า แคทเธอรีนกับจูลส์ได้ย้ายไปตั้งรกราก (หลังสงครามสิ้นสุด) ณ กระท่อมกลางป่า พร้อมทั้งให้กำเนิดลูกสาวคนหนึ่งชื่อ ซาบีน และแน่นอนว่าชีวิตต่อมาของพวกเขาไม่ได้ลงเอยอย่าง ‘มีความสุขตลอดกาล’

นอกจากจะเป็นจุดจบแห่งโรแมนซ์แล้ว Jules and Jim ยังมองสถาบันครอบครัวว่าเปรียบเสมือนเรือนจำกักขังเสรีภาพแห่งปัจเจกชนอีกด้วย (เช่นเดียวกับในผลงานสร้างชื่อชิ้นแรกของทรุฟโฟต์เรื่อง The 400 Blows ซึ่งเล่าถึงการเดินทางของวิญญาณขบถ ผู้พยายามจะปลดปล่อยตัวตนจากความคาดหวังและค่านิยมทางสังคม) ธีมดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับภาพยนตร์ฝรั่งเศสหลายเรื่องในยุค 1950 ซึ่งมักพูดถึงความรักระหว่างตัวเอกกับบุคคลที่ปราศจากสายใยครอบครัว เช่น แม่ม่าย เด็กกำพร้า หรือโสเภณี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แรงปรารถนาที่จะเป็นอิสระของตัวเอกกลับดูคลุมเครือ เนื่องจากหนังเหล่านั้นล้วนมุ่งหน้าไปสู่ แฮปปี้ เอ็นดิ้ง แทบทั้งสิ้น ซึ่งนั่นย่อมหมายถึง การให้สองคู่รักลงเอยด้วยกันอย่างมีความสุขและสร้างครอบครัวใหม่ขึ้นแทนครอบครัวที่ขาดหายไป

จิมทำให้การค้นหารักโรแมนติกของแคทเธอรีนบรรลุเป้าหมาย สถานะ ‘ผู้หญิงมีพันธะ’ ไม่ได้กลายเป็นอุปสรรค เนื่องจากจูลส์เปิดกว้างทางความคิดและยินยอมมอบภรรยาให้กับเพื่อนรัก ทว่าความพยายามของเธอที่จะสร้างครอบครัวขึ้นใหม่กับจิมกลับลงเอยด้วยความล้มเหลวไม่เป็นท่า ทั้งนี้เนื่องจากแคทเธอรีนไม่ได้ถูกสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและรูปแบบชีวิตตามมาตรฐาน สุดท้าย Jules and Jim จึงลงเอยด้วยบทสรุปที่แตกต่างจากหนังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ก่อนหน้าปรากฏการณ์คลื่นลูกใหม่ นั่นคือ ‘ไม่’ แฮปปี้ เอ็นดิ้ง… อย่างน้อยก็ในแบบที่คนดูคุ้นเคย

ในโลกของ Jules and Jim ครอบครัวถูกแทนด้วยรูปแบบวงกลมตามแนวคิดพื้นฐานของสถาบัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการให้กำเนิดใหม่ (ทายาท) และการเดินวนมาซ้ำรอยทางเดิม (ลูกๆ เติบใหญ่และเริ่มสร้างครอบครัวของพวกเขาเอง) คุณลักษณะดังกล่าวปรากฏชัดเป็นรูปธรรมในฉากสำคัญสองฉาก ได้แก่ ฉากกล้องหมุนวนไปรอบๆ โต๊ะ ที่กระท่อมกลางป่าจากตัวละครหนึ่งไปยังอีกตัวละครหนึ่ง และฉากกล้องแพนอย่างรวดเร็วจากจากจิม ไปยังจูลส์ ซึ่งนั่งอยู่กับซาบีน และวนกลับมาลงเอยยังภาพโคลสอัพของแคทเธอรีน ขณะเดียวกัน การแพนดังกล่าวยังสะท้อนถึงความรักและแรงปรารถนาที่เปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็วของเหล่าตัวละคร เฉกเช่นในเพลง The Whirlwind of Life ที่แคทเธอรีนร้อง ซึ่งบอกเล่าถึงเรื่องราวของสองหนุ่มสาวซึ่งตกหลุมรัก แยกทาง และหวนกลับมารักกันอีก วนเวียนไปมาเช่นนี้ ไม่ต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างแคทเธอรีนกับจิม อันที่จริง รูปแบบ ‘ม้าหมุน’ ใน Jules and Jim ได้เริ่มฉายแววตั้งแต่ช่วงต้นๆ เรื่องแล้วด้วยซ้ำ เมื่อ เธรีส (มารี ดูบัวส์) ทอดทิ้งจูลส์ไปหาผู้ชายคนใหม่ เธอถามเขาด้วยคำถามแบบเดียวกับที่เธอเคยถามจูลส์กับจิมในสองสามฉากก่อนหน้า (“ขอฉันไปค้างคืนด้วยได้ไหม”) จากนั้นก็เริ่มโชว์กล (สูบบุหรี่แล้วพ่นควันออกมาเหมือนเครื่องจักรไอน้ำ) แบบเดียวกับที่เธอเคยแสดงให้จูลส์ดูในห้อง ซึ่งกล้องได้ตามติดเธอไปวงกลม

ไม่ว่าจะด้วยแก่นวิญญาณที่รักอิสระ หรือธรรมชาติอัน ‘เหนือจริง’ ของเธอก็ตาม แคทเธอรีนดูเหมือนจำต้องต่อสู้ดิ้นรนตลอดเวลากับแรงกดดันที่จะเป็น ‘ปรกติ’ ความพยายามครั้งสุดท้ายของเธอที่จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรชีวิต คือ เมื่อเธอขับรถไปรอบๆ สวนสาธารณะอันว่างเปล่าหน้าอพาร์ตเมนต์จิม ซิกแซ็กระหว่างต้นไม้ ม้านั่ง และเสาไฟ แต่ไม่สามารถวนรถเป็น ‘วงกลม’ ได้เสียทีเดียว จากนั้น ในฉากต่อมา จิมก็ได้ประกาศข่าวว่าเขาจะแต่งงานกับ กิลแบร์ต (แวนนา เออร์บิโน่) เพราะ “เรายังสามารถมีลูกด้วยกันได้” การปราศจากทายาทสืบสกุล คือ อุปสรรคสำคัญของการสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์และเติมเต็มวงจรแห่งชีวิต ดังนั้น ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ความสัมพันธ์รักร่วมเพศถูกมองว่าเป็นเรื่องต้องห้าม เนื่องจากมันไม่นำไปสู่การผลิตลูกหลานสืบสกุล ความสัมพันธ์ระหว่างจิมกับแคทเธอรีนจึงเปรียบเสมือนความฝันอันล่องลอย เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถมีลูกด้วยกันได้

แคทธารีนล้มเหลวในความรักโรแมนติกกับจูลส์ และถึงแม้ว่าเธอจะประสบความสำเร็จในการสร้างครอบครัวกับเขา (มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน) แต่แรงปรารถนาที่ขัดแย้งกับกรอบและรูปแบบของสังคมภายในตัวเธอก็เริ่มส่งอิทธิพลรุนแรง จนนำไปสู่การคบชู้กับ อัลเบิร์ต (บอริส แบสเซียค) ซึ่งคุกคามแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว ขณะเดียวกัน ความพยายามจะเติมเต็มโรแมนซ์ระหว่างจิมกับแคทเธอรีนก็ประสบความล้มเหลวเช่นเดียวกัน เนื่องจากธรรมชาติอัน ‘ไม่ถาวร’ ของมัน และสุดท้ายมักลงเอยด้วยการแยกทาง เหมือนคู่รักในเพลง The Whirlwind of Life ส่วนคู่รักที่จะ ‘แก่เฒ่าไปด้วยกัน’ แบบที่แคทเธอรีนเคยพูดกับจูลส์นั้น ก็หาใช่อุดมคติสำหรับแคทเธอรีน เนื่องจากมันปราศจากความรักโรแมนติก ทั้งยังเปรียบเสมือนการประนีประนอมและยอมจำนนแด่ความธรรมดาสามัญอีกด้วย

ฉากจบใน Jules and Jim อาจตีความได้ว่า เป็นความพยายามสุดท้ายของแคทเธอรีนที่จะรักษาสภาพของรักโรแมนติกระหว่างเธอกับจิมเอาไว้ดังเดิม เพราะมันไม่สามารถอยู่รอดได้ตลอดกาลในโลกแห่งความเป็นจริง สมมุติฐานดังกล่าวอาจฟังดูเศร้าสร้อยในเชิงโศกนาฏกรรมอยู่กลายๆ แต่หากเรามองย้อนไปยังภาพลักษณ์ของแคทเธอรีนในฐานะสัญลักษณ์แห่งพลังชีวิตอันปราศจากรูปแบบ ฉากจบดังกล่าวก็จะกลายเป็นการประกาศอิสรภาพ หรือบทเฉลิมฉลองชีวิตเหนือครรลองและกฎระเบียบขึ้นมาทันที เพื่อหลบหนีจากเรือนจำแห่งธรรมเนียมปฏิบัติ แคทเธอรีนตัดสินใจที่จะขับรถพุ่งดิ่งลงแม่น้ำ พร้อมทั้งนำพาจิมไปด้วย เนื่องจากเขาคล้ายคลึงเธอมากกว่าในแง่วิญญาณขบถ แล้วปล่อย จูลส์ หนุ่มเยอรมันผู้กลมกลืนเข้ากับสถาบันครอบครัวได้มากกว่า ให้ต้องอยู่โดดเดี่ยวเพียงลำพัง ในยุคสมัยที่เผด็จการเริ่มแผ่อำนาจเหนือปัจเจกภาพ (ในช่วงท้าย จูลส์กับแคทเธอรีนได้บังเอิญมาพบจิมอีกครั้งที่โรงหนัง ซึ่งกำลังฉายภาพข่าวนาซีเผากองหนังสือ ภาพดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงไปถึง Fahrenheit 451 หนังภาษาอังกฤษเรื่องแรกของทรุฟโฟต์ได้ เพราะมันเล่าถึงยุคสมัยที่การอ่านหนังสือเป็นเรื่องต้องห้ามและหนังสือทุกเล่มจะต้องถูกจุดไฟเผา นอกจากนั้นหนังยังนำแสดงโดย ออสการ์ แวร์เนอร์ อีกด้วย)

แคทเธอรีนเลือกจิม เพราะเธอตระหนักว่าเขากำลังจะถูกชักจูงเข้าสู่ความมั่นคงแห่งครอบครัวมากขึ้นทุกขณะ จนในที่สุดอาจถูกกลืนกินจิตวิญญาณไปจนไม่เหลือหลอ ส่วนจูลส์กลับถูกเธอทอดทิ้งให้ต้องโดดเดี่ยวอยู่กับผลผลิตแห่งการแต่งงาน (ซาบีน) และกลิ่นอายแห่งกฎเกณฑ์อันเคร่งครัดทางสังคม ซึ่งไม่อนุญาตให้เขาบดผสมเถ้าอัฏฐิแล้วโปรยมันไปกับสายลมตามใจปรารถนา ขณะจูลส์เดินก้มหน้าลงเนินเขาอย่างเศร้าสร้อยในฉากสุดท้าย เสียงดนตรีของเพลงที่แคทเธอรีนเคยร้อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวงจรซ้ำซากแห่งชีวิต ก็ค่อยๆ ดังขึ้นมาเหมือนจะตอกย้ำชะตากรรมของเขา สำหรับทรุฟโฟต์ ชีวิตภายใต้รูปแบบ กฎระเบียบ และอำนาจครอบงำนั้นถือเป็นเรื่องน่าเศร้ายิ่งกว่าความตายมากมายนัก

3 ความคิดเห็น:

celinejulie กล่าวว่า...

http://filmsick.exteen.com/20050530/jules-and-jim-fs

ชอบฉาก JEANNE MOREAU กระโดดน้ำในหนังเรื่องนี้มากๆ

ชอบความสัมพันธ์แบบรักสามเส้าในหนังเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะปกติแล้วความสัมพันธ์แบบรักสามเส้าในหนังหรือละครโทรทัศน์ มักจะเป็นความสัมพันธ์แบบ

1.นางเอก—พระเอก—นางอิจฉา

2.พระเอก—นางเอก—นายอิจฉา

3.นางเอก—พระเอก—นางรอง

4.พระเอก—นางเอก—พระรอง

แต่ใน JULES AND JIM นี้ ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าใครเป็นพระเอกหรือพระรองกันแน่


หนัง/ละครเรื่องอื่นๆที่นำเสนอความสัมพันธ์แบบสามเส้าที่ดิฉันชอบมากๆก็มีเช่น

1.--CONSCIENCE (1994, A+++++++++++++++) ละครทีวีฮ่องกงที่เคยฉายทางช่อง 3 นำแสดงโดย
http://www.asian-ent.com/forum/viewthread.php?tid=772

1.1 เส้าเหม่ยฉี ในบทนางเอกที่ค่อยๆกลายสภาพเป็นนางอิจฉา
http://www.asian-ent.com/forum/viewthread.php?action=attachment&tid=772&pid=9057

1.2 เวินเจ้าหลุน
http://www.asian-ent.com/forum/viewthread.php?action=attachment&tid=772&pid=9056

1.3 กัวอ่ายหมิง ในบทนางรองที่ค่อยๆกลายสภาพเป็นนางเอก
http://www.asian-ent.com/forum/viewthread.php?action=attachment&tid=772&pid=9054


2.--TWO ENGLISH GIRLS (1971, FRANCOIS TRUFFAUT, A+)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/1572524839.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.gif
At the beginning of the 20th century, Claude Roc, a young middle-class Frenchman meets in Paris Ann Brown, a young Englishwoman. They become friends and Ann invites him to spend holidays at the house where she lives with her mother and her sister Muriel, for whom she intends Claude. During these holidays, Claude, Ann and Muriel become very close and he gradually falls in love with Muriel. But both families lay down a one-year-long separation without any contact before agreeing to the marriage. So Claude goes back to Paris when he has many love affairs before sending Muriel a break-off letter...

หนังเรื่องนี้เป็นหนังของทรุฟโฟต์ที่ดิฉันชอบมากที่สุด นำแสดงโดย

2.1 JEAN-PIERRE LEAUD ในบทหนุ่มหล่อจากฝรั่งเศสที่เป็นที่หมายปองของสองสาวพี่น้องชาวอังกฤษ เขาชอบน้องสาว แต่น้องสาวมีนิสัยขี้ขลาดและอ่อนแอเกินกว่าจะทำตามใจของตัวเอง ในขณะที่พี่สาวกล้าทำตามใจของตัวเองจนได้แอ้มพระเอกในที่สุด ถึงแม้ว่าในตอนแรกนั้นพี่สาวจะพยายามผลักดันให้น้องสาวได้กับพระเอกก็ตาม

อันนี้เป็นรูปของ JEAN-PIERRE LEAUD ตอนแก่ กับ IRENE JACOB ในหนังเรื่อง THE MARCORELLE AFFAIR (2000, SERGE LE PERON)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/85/94/048594_ph1.jpg


2.2 KIKA MARKHAM ในบทพี่สาว ชอบตัวละครตัวนี้มากๆ อยากจะเป็นผู้หญิงอย่างเธอ

อันนี้เป็นรูปของ KIKA MARKHAM จากหนังเรื่อง DOUBLE DARE (1976, JOHN MACKENZIE)
http://www.bbc.co.uk/bbcfour/cinema/images/double1_gal.jpg

2.3 STACEY TENDETTER ในบทน้องสาว


3.--INNOCENCE (2000, PAUL COX, A+)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00006SFJT.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg

หนังเรื่องนี้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างหนึ่งหญิงชรากับสองชายชรา และนำแสดงโดย

3.1 JULIA BLAKE ในบทหญิงชราที่มีสามีแล้ว แต่ได้พบกับคนรักเก่าที่พลัดพรากจากกันเมื่อราว 50 ปีก่อน
http://www.democratandchronicle.com/goesout/mov/i/innoce.jpg

3.2 CHARLES ‘BUD’ TINGWELL ในบทคนรักเก่า
http://periapsis.org/snowyriver/images/charles_bud_tingwell.jpg

3.3 TERRY NORRIS ในบทสามี


4.--ODETE หรือ TWO DRIFTERS (2005, JOAO PEDRO RODRIGUES, A+)

ความสัมพันธ์สามเส้าในหนังเรื่องนี้ค่อนข้างประหลาด เพราะเป็นเรื่องของสองเกย์หนุ่มกับหนึ่งสาว โดยที่หนึ่งในสามเส้ามีชีวิตอยู่ไม่ถึง 5 นาทีในหนังเรื่องนี้ หนังนำแสดงโดย

4.1 ANA CRISTINA DE OLIVEIRA ในบทสาวเฮี้ยน

4.2 NUNO GIL ในบทหนุ่มเกย์ที่แฟนตายจากไป

4.3 JOAO CARREIRA ในบทแฟนที่ตายจากไป


5.--SAINT-CYR (2000, PATRICIA MAZUY, A+)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/83/92/048392_af.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/14/07/18455617.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/83/92/048392_ph1.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/83/92/048392_ph2.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/83/92/048392_ph3.jpg

ความสัมพันธ์ย่อยอันหนึ่งในหนังเรื่องนี้ คือความสัมพันธ์ระหว่างสาวเลสเบียน, สาว STRAIGHT และหนุ่ม STRAIGHT

นำแสดงโดย

5.1 MORGANE MORE ในบทสาวเลสเบียน

รูปของ MORGANE MORE จาก ONCE UPON AN ANGEL (2002, VINCENT PEREZ)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/00/02/48/80/ph1.jpg

5.2 NINA MEURISSE ในบทสาว STRAIGHT

5.3 JEREMIE RENIER ในบทหนุ่ม STRAIGHT

รูปของ JEREMIE RENIER จาก PRIVATE PROPERTY (2006, JOACHIM LAFOSSE)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/63/09/18/18716367.jpg


6.--ละครทีวีเรื่อง “ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย” (A+) ทางช่อง 3 นำแสดงโดยหลินจุ้นเสียนในบทชายหนุ่มผู้ขยันขันแข็งก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากฐานะต่ำต้อย, เฉินหมิ่นเอ๋อ ในบทสาวนักสังคมสงเคราะห์ และเซี่ยหนิงในบทโสเภณีสาว


7.--THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972, RAINER WERNER FASSBINDER, A)

Petra von Kant is a successful fashion designer -- arrogant, caustic, and self-satisfied. She mistreats Marlene (her secretary, maid, and co-designer). Enter Karin, a 23-year-old beauty who wants to be a model. Petra falls in love with Karin and invites her to move in. The rest of the film deals with the emotions of this affair and its aftermath. Fassbinder tells his story in a series of 5 or 6 long scenes with extended uses of a single camera shot and deep focus

หนังเลสเบียน นำแสดงโดย

7.1 MARGIT CARSTENSEN ในบทเปตรา

7.2 HANNA SCHYGULLA ในบทคาริน ผู้ที่เปตราหลงรัก

7.3 IRM HERMANN ในบทมาร์ลีน ผู้จงรักภักดีต่อเปตรา

หนังเรื่องนี้เคยได้รับการดัดแปลงเป็นละครเวทีในกรุงเทพเมื่อไม่กี่ปีก่อน โดยมีคุณสุมณฑา สวนผลรัตน์รับบทเป็นมาร์ลีน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MARGIT CARSTENSEN ได้ที่
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=11017


8.--LA FEMME INFIDELE (1969, CLAUDE CHABROL, A)

หนังแนวผัวเมียละเหี่ยใจตามแบบฉบับของ CLAUDE CHABROL หนังเรื่องนี้เป็นต้นแบบของหนังเรื่อง UNFAITHFUL (2002, ADRIEN LYNE, A)

Charles Desvallees has good reasons to believe that his wife is cheating on him and hires a P.D. in order to prove himself right. Once he knows the lover is writer Victor Pegala, he drives to his apartment, calmly presents himself as the husband, starts a conversation and then kills him cold-bloodedly. The police trace the wife but when she discovers by accident a picture that could incriminate her husband she decides to remain silent.

นำแสดงโดย

8.1 STEPHANE AUDRAN
อันนี้เป็นรูปของ STEPHANE AUDRAN จากหนังเรื่อง FACELESS (1988, JESUS FRANCO)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/56/15/18406702.jpg
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000AINPE.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg

8.2 MICHEL BOUQUET ในบทสามี

รูปของ MICHEL BOUQUET จาก 3000 MILLION WITHOUT AN ELEVATOR (1972, ROGER PIGAUT)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/58/67/18409823.jpg

8.3 MAURICE RONET ในบทชายชู้

รูปของ MAURICE RONET จากหนังเรื่อง THE DENUNCIATION หรือ THE IMMORAL MOMENT (1962, JACQUES DONIOL-VALCROZE)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/58/75/18409869.jpg


9.--LOLITA (1997, ADRIAN LYNE, A-)

ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาวและชายวัยกลางคนหนึ่งคน นำแสดงโดย MELANIE GRIFFITH, DOMINIQUE SWAIN, JEREMY IRONS


10.--CYRANO DE BERGERAC (1990, JEAN-PAUL RAPPENEAU, A-/B+)

อันนี้เป็นหนึ่งในตำนานรักสามเส้าที่ทุกคนคงรู้จักกันดีที่สุด ระหว่างชายขี้เหร่, หญิงสาวสวย และชายหล่อที่เป็นเพื่อนสนิทของชายขี้เหร่ นำแสดงโดย GERARD DEPARDIEU, ANNE BROCHET, VINCENT PEREZ


รูปของ ANNE BROCHET จาก THE TIME OF THE PEN-HOLDER (2006, DANIEL DUVAL)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/28/58/18468633.jpg


--สำหรับหนังแนวรักสามเส้าที่อยากดูที่สุดในตอนนี้ รวมถึงหนังมาเลเซียเรื่อง BEFORE WE FALL IN LOVE AGAIN ที่กำกับโดย JAMES LEE (THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE)
http://www.dahuangpictures.com/blogs/media/blogs/a/b4wfl_poster.jpg

หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของ ฉาง ชายหนุ่มที่พบว่าอยู่ดีๆ หลิงหยู่ ภรรยาของเขาหายสาบสูญไปโดยไม่มีใครรู้ว่าเธอไปที่ใด ภรรยาของเขาหายไปนาน 1 เดือนแล้ว ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินไปที่กรุงปราก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเชค เพราะเขารู้ว่าปรากเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของหลิงหยู่ แต่ก่อนที่เขาจะได้ขึ้นเครื่องบิน เขาก็พบกับต่ง ซึ่งเป็นชายชู้ของหลิงหยู่ โดยต่งเองก็ไม่รู้ว่าหลิงหยู่หายสาบสูญไปที่ใดเช่นกัน ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจมาถามฉางว่าหลิงหยู่หายไปที่ใด

ฉางและต่งนั่งคุยกันและเล่าเรื่องราวของหลิงหยู่ให้อีกฝ่ายหนึ่งฟังเพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทั้งสองพยายามทำความเข้าใจว่าที่จริแล้วหลิงหยู่เป็นใคร และในที่สุดทั้งสองก็ตัดสินใจออกเดินทางไปตามหาหลิงหยู่ด้วยกัน ก่อนจะพบกับความประหลาดใจ

หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากละครเวทีเรื่อง BETRAYAL ของ HAROLD PINTER และเป็นหนังยาวเรื่องที่ห้าของเจมส์ ลี โดยมีบางส่วนที่ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง JULES AND JIM


เจมส์ ลีเป็นหนึ่งในผู้กำกับชั้นแนวหน้าของมาเลเซียเหมือนกับ TAN CHUI MUI (A TREE IN TANJUNG MALIM) , HO YUHANG (SANCTUARY), AMIR MOHAMMAD (THE LAST COMMUNIST) และ DEEPAK KUMARAN MENON (THE GRAVEL ROAD)

เว็บไซท์ของ BEFORE WE FALL IN LOVE AGAIN
http://www.dahuangpictures.com/blogs/index.php?blog=2

CHYE CHEE KEONG ในบท CHANG
http://www.dahuangpictures.com/blogs/media/blogs/a/b4_pic_chye.jpg

PETER TEO ในบท TONG
http://www.dahuangpictures.com/blogs/media/blogs/a/b4_pic_pete.jpg

AMY LEN ในบท LING YUE
http://www.dahuangpictures.com/blogs/media/blogs/a/b4_pic_amy.jpg

Riverdale กล่าวว่า...

ผมชอบเรื่อง Two English Girls มากๆ เหมือนกันครับ ชอบเทคนิคภาพยนตร์อันแพรวพราวในหนังเรื่องนี้ มาร์ติน สกอร์เซซี่ เคย copy เอาฉากอ่านจดหมาย (ในหนังจะใช้เทคนิคให้คนเขียนจดหมายอ่านเนื้อความในจดหมายให้คนดูฟัง แล้วกล้องก็จะจับใบหน้าของคนๆ นั้นด้วย)มาใช้ในหนังเรื่อง The Age of Innocence

celinejulie กล่าวว่า...

ชอบฉากอ่านจดหมายใน TWO ENGLISH GIRLS และใน THE AGE OF INNOCENCE เหมือนกัน ไม่เคยสังเกตมาก่อนว่าสองฉากนี้คล้ายกัน แต่สองฉากนี้มันให้ความรู้สึกที่เชยแต่น่ารัก ซึ่งเข้ากับหนังแนวพีเรียดเป็นอย่างมาก